Pachelbel Canon in D Major Perfect Version

ฺBenze

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

0 ความคิดเห็น

แนะนำคณะพยาบาลศาสตร์

0 ความคิดเห็น

รศ.ดร. วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์
คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองปัญหาการขาดแคลนพยาบาล โดยเฉพาะ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยริเริ่มโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2538 และเปลี่ยนฐานะเป็น คณะพยาบาลศาสตร์ วันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ซึ่งเป็นวันสถาปนาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามสืบมา ปัจจุบันได้รับการรับรองวิทยฐานะเป็นสถานการศึกษาวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทยในวันที่ 25ตุลาคม 2548เป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - 2552


ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีแผนเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เดิมกำหนดเปิดสอนในปีพ.ศ. 2544 แต่เนื่องจากมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลน โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปัญหาขาดแคลน พยาบาลอย่างชัดเจน กล่าวคือ พยาบาลต่อประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราส่วน 1 : 3,653 ในขณะที่ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้ มีอัตราส่วน 1 : 1,296 - 1 : 1,775 (สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2535) และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดทบวง มหาวิทยาลัยและสภากาชาดไทยให้เร่งรัดการเพิ่มผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2536 - 2542 ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ. 2544 จะมีอัตราส่วน พยาบาลต่อประชากรดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าประเทศพัฒนาอื่น ๆ สภาพการผลิตพยาบาลในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 สามารถเพิ่มการผลิต ได้เพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้น ซึ่งยังต่ำกว่าความต้องการบุคลากรพยาบาลเป็นอย่างมาก (กองแผนงาน สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, 2535) ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากร จำนวน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ แต่มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิต ทางการพยาบาลเพียงสถาบันเดียว คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยภูมิภาค ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการได้รับการบริการ สุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ขอปรับแผนพัฒนา การศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 เปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ จากปี พ.ส. 2544 เป็น ปี พ.ศ. 2540 และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ 1286/2538 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มี รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นประธานกรรมการ คณะกรรมการมีหน้าที่ 1) วางแผน และกำหนดทิศทางในการเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ 2) จัดทำหลักสูตร 3) ดำเนินการ ในเรื่องต่างที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดสอน และจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดหน่วยงาน ชื่อโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้น เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในการดำเนินการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้ อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต อนุกรรมการฝ่ายวางแผนการศึกษาภาคปฏิบัติ และอนุกรรมการฝ่ายจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองทางการพยาบาล ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ 314 / 2539 เรื่องแต่งตั้งอนุกรรมการ ลงวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2539 อนุกรรมการฝ่ายจัดทำหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต ได้ยกร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และดำเนินการตามขั้นตอน กล่าวคือผ่านการพิจารณาจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ วิชาการมหาวิทยาลัย คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และทบวง มหาวิทยาลัยรับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงข้อบังคับมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2540 จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย คือมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่เกิน 140 หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ปี พ.ศ. 2541) ได้ผ่านความเห็นชอบ ของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 และทบวงมหาวิทยาลัยรับทราบ และให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542 และคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือนรับรองและรับทราบคุณวุฒิผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ. 2541) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นแรกรับนิสิต จำนวน 33 คน เมื่อปีการศึกษา 2540 ต่อมาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2542 ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) โดยรับ นิสิต จำนวน 57 คน หลักสูตรนี้ผ่านความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 และผ่านความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2543

เนื่องจากประเทศประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2540 รัฐบาลจึงมีนโยบายไม่ให้จัดตั้งหน่วยงานใหม่ แต่สามารถจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสภามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14(2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ปี พ.ศ. 2538 สภามหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงร่างระเบียบว่าด้วยคณะพยาบาลศาสตร์ ปี พ.ศ. 2541 ทำให้มีการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ ขึ้นในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานจัดการศึกษาทำนองเดียวกับคณะดำเนินงานในรูปแบบการบริหารในลักษณะ นอกระบบราชการ ที่เน้นความคล่องตัว มีประสิทธิภาพและพึ่งตนเองให้มากที่สุด โดยมีสภามหาวิทยาลัยกำกับดูแลทำให้โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เปลี่ยนฐานะ มาเป็นคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ เป็นรักษาการคณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ จนถึงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 และรองศาสตราจารย์วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ต่อมาจนถึง วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 รองศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี รุจกรกานต์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน





ปรัชญา
พยาบาลพึงเป็นผู้มีความรู้คุ่คุณธรรม เป็นผู้นำในการสร้างเสริมสุขภาพ


ปณิธาน
เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ทุกระดับปริญญาให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ส่งเสริมการ วิจัย เผยแพร่องค์ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรมด้านการพยาบาล การให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ มุ่งมั่น พัฒนาบุคลากรในการสั่งสม เสาะแสวงหาความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยผสานองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาการที่เป็นสากล


พันธกิจ 1. ผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและมีความเป็นผู้นำ
2. พัฒนาองค์ความรู้ที่มุ่งสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ
3. สร้างเสริมสุขภาพและความเข้มแข็งของชุมชน
4. สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย




วิสัยทัศน์ เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำแห่งคุณภาพ คุณธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสุขภาพชุมชน




วัตถุประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยจัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตร พยาบาลศาสตร์ ในทุกระดับปริญญาและหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษาวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านการพยาบาลและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยอาจร่วมมือ กับสถาบันภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
3. ให้บริการวิชาการด้านสุขภาพ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ท้องถิ่น องค์กรของรัฐและเอกชน
4. ทำนุบำรุง สนับสนุน และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิชาชีพ







หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล(ระบบปกติ, หลักสูตร 1 ปี)

ชื่อหลักสูตร: ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
ภาษาอังกฤษ : Certificate Program for Practical Nurse

ชื่อปริญญา: ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล(ป. ผู้ช่วยพยาบาล)
ภาษาอังกฤษ : Certificate Program for Practical Nurse(Cert. in PN)

โครงสร้างหลักสูตร: จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 35 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 29 หน่วยกิต
2.1 ภาคทฤษฎี 19 หน่วยกิต
2.2 ภาคปฎิบัติ 10 หน่วยกิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ระบบปกติ ( หลักสูตร 4 ปี)

ชื่อหลักสูตร: ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program

ชื่อปริญญา: ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program(B.N.S)

โครงสร้างหลักสูตร: จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 143 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 34 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 103 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 31 หน่วยกิต
2.2 วิชาชีพ 72 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ระบบพิเศษ (หลักสูตรต่อเนื่อง2 ปี)

ชื่อหลักสูตร: ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program(Continuing)

ชื่อปริญญา: ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program(B.N.S)

โครงสร้างหลักสูตร: จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 78 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 54 หน่วยกิต
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 14 หน่วยกิต
2.2 วิชาชีพ 40 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่

ชื่อหลักสูตร:
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science Program

ชื่อปริญญา:
ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม)
ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science (M.N.S)

โครงสร้างหลักสูตร:
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
1. วิชาหลัก (แผน ก) 15 (แผน ข) 15 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะสาขา (แผน ก) 12 (แผน ข) 18 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี (แผน ก) 3 (แผน ข) 3 หน่วยกิต
4. วิชาประสบการณ์วิจัย (แผน ก) 12 (แผน ข) 6 หน่วยกิต

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและจิตเวช

ชื่อหลักสูตร:
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science Program

ชื่อปริญญา:
ภาษาไทย : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม)
ภาษาอังกฤษ : Master of Nursing Science (M.N.S)

โครงสร้างหลักสูตร:
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต
1. วิชาหลัก (แผน ก) 15 (แผน ข) 15 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะสาขา (แผน ก) 12 (แผน ข) 18 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี (แผน ก) 3 (แผน ข) 3 หน่วยกิต
4. วิชาประสบการณ์วิจัย (แผน ก) 12 (แผน ข) 6 หน่วยกิ




โรคธารัสซีเมีย (Thalussemia)

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

0 ความคิดเห็น

นิยาม

โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากการที่ร่างกายมีหน่วยพันธุกรรม หรือยีนผิดปกติ สำหรับการสร้างส่วน ของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย โรคนี้เป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย พ่อ และแม่จะเป็นผู้ถ่ายทอดยีน ผิดปกตินี้ไปยัง ลูกพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้ได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และพบผู้ที่ยีน แฝง (พาหะ) ประมาณร้อยละ 40 ของประชากร



โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย(อังกฤษ:thalassaemia) เป็นโรคเลือดจาง ที่มีสาเหตุมาจากมีความ ผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให ้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่ายผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้ง หญิงและชายปริมาณเท่า ๆ กันถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากใน ประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ร้อยละ 1 ส่วนพบผู้ที่มีพาหะนำโรคในประเทศเราถึงร้อยละ 30-40 คือประมาณ 20-25 ล้านคนที่มีโรคซ่อนอยู่ เมื่อพาหะแต่งงานกันและพบยีนผิดปกติร่วมกัน ก็อาจมีลูก ที่เกิดโรคนี้ได้ ซึ่งประมาณการณ์ว่าจะมีคนไทยเป็นมากถึง 500,000 คน โรคนี้ทำให้เกิดโลหิตจาง (Anemia) โดยเป็นกรรมพันธุ์ของการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งมีสีแดงและนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนต่าง ๆ ยีนธาลัส ซีเมีย ที่เรารู้จักกันในชื่อดีเอ็นเอ ซึ่งอาจก่อเกิดโรคอื่น ๆ แล้วแต่ว่ายีนนั้นจะควบคุม เกี่ยวกับหน้าที่อะไรในร่างกายมนุษย์


ประเภทของธารัสซีเมียมี 2 ประเภท

ประเภทที่ 1 เกิดเป็นฮีโมลโกลบินชนิดผิดปกติ ที่พบแล้วกว่า 1000 ชนิด ในประเทศไทยก็พบ หลายชนิด เช่น ฮีโมโกลบิน ศิริราช ฮีโมโกลบินอานันทราช ฮีโมโกลบินสยาม ฮีโมโกลบินธนบุรี ฮีโมโกลบินตาก ฯลฯ แต่ที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ
1. ฮีโมโกลบินอี (Hb E)
2. ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์ สปริง (Hb Constant Spring) เดิมเรียกฮีโมโกลบินไทย

ประเภทที่ 2 ธาลัสซีเมีย หมายถึง การสร้างเส้นโปรตีนอันเป็นส่วนประกอบของอณูของฮีโมโกลบิน ได้ น้อยไปมีชนิด ใหญ่ ๆ อยู่ 2 ชนิด สุดแล้วแต่เส้นโปรตีนใดที่น้อยไป คือ
1. แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia)
2. เบต้า ธาลัสซีเมีย (β -thalassemia)

ทั้งแอลฟ่าและเบต้าธาลัสซีเมีย ยังมีชนิดแยกย่อยลงไปอีกมาก เมื่อกล่าวถึงธาลัสซีเมียจะหมายรวมถึง ทั้งธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินที่ผิดปกติเพราะมีความสัมพันธ์กัน



ชนิดของโรคทารัสซีเมีย

หลัก ๆ ก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แอลฟาธาลัสซีเมีย และ เบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน ประกอบ ไปด้วย ฮีม + โกลบิน 4 สาย (สายแอลฟา 2สาย และสายเบตา 2 สาย)ฮีโมลโกลบินจะมีลักษณะโมเลกุล ที่เชื่อมต่อกัน 4สายครับ ได้แก่ สายแอลฟา2สาย และสายเบต้า2สาย ซึ่งถ้ามีความผิดปกติของ สายแอลฟา ก็เรียกแอลฟาธาลัสซีเมีย และถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้าก็เรียกเบต้าธาลัสซีเมีย เบต้าธาลัสซีเมีย เบต้าธา ลัสซีเมียจะเกิดขึ้นเมื่อสายเบต้าในฮีโมโกลบินนั้นสร้างไม่สมบูรณ์ครับ ดังนั้น ฮีโมโกลบินจึงขนส่งออกซิเจน ได้ลดลง ในเบต้าธาลัสซีเมียสามารถแบ่งออกได็เป็นหลายชนิดย่อย ขึ้นอยู่กับยีน สามารถสร้างสายเบต้าได้ สมบูรณ์แบบมากแค่ไหนแหล่งระบาดของเบต้าธาลัสซีเมีย ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบเมดิเตอ เรเนียน ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ 1 สาย (จากสาย เบต้า 2 สาย) อาจจะมีภาวะซีด เพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ซึ่งเกิดจากการที่ได้รับ ยีนที่ผิดปกติอีก 1 ยีนจากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง ถ้ามียีนที่สร้างสายเบต้าได้ไม่สมบูรณ์ทั้ง 2 สาย (จากสายเบต้าทั้ง 2 สาย) ภาวะซีดอาจมีความรุนแรงได้ ้ปานกลางถึงมาก ในกรณีนี้เกิดจากการที่คุณได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากทั้งพ่อและแม่ ถ้ามีภาวะซีดปานกลาง อาจจำเป็นต้องได้รับเลือดบ่อย ๆ โดยปกติแล้ว สามารถมีชีวิตได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ แต่ถ้ามีภาวะซีดที่รุนแรงมักจะ เสียชีวิตก่อนเนื่องจากซีดมากถ้าเป็น รุนแรง อาการมักจะเริ่มต้นตั้งแต่อายุ ุ 6 เดือนแรกหลังเกิด แต่ถ้าเด็ก ได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่แรกเริ่มก็มัก จะมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็มักจะเสียชีวิตเนื่องจาก อวัยวะต่างๆถูกทำลายครับ เช่น หัวใจ และ ตับ แอลฟา ธาลัสซีเมีย แอลฟาธาลัสซีเมียเกิดขึ้นเนื่องจาก ฮีโมโกลบินในสายแอลฟามีการสร้างผิดปกติ โดยปกติ ิแล้วจะมีแหล่งระบาดอยู่ในแถบตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก ได้แก่ ไทย จีน ฟิลลิปปินส์ และบางส่วนของ แอฟริกาตอนใต้ขึ้นกับว่าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้าง สายแอลฟามากแค่ไหน โดยปกติแล้วสาย แอลฟา 1 สาย จะกำหนดโดยยีน 1 คู่ (2ยีน) ดังนั้น
ถ้าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 1 ยีน คุณจะไม่มีอาการใดๆครับ แต่จะเป็นพาหะที่ ส่งยีนนี้ไปยังลูกหลาน ถ้าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟา 2 ยีน คุณจะมีภาวะซีดเพียงเล็ก น้อยแต่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาถ้าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับยีนใน การสร้างสายแอลฟา 3 ยีน คุณก็จะเกิด ภาวะซีดได้ ตั้งแต่รุนแรงน้อย จนถึงรุนแรงมาก บางครั้งเรียกว่า ฮีโมโกลบิน H ซึ่งอาจจำเป็นต้องได้รับเลือดถ้ามี ความผิดปกติเกี่ยวกับยีนในการสร้างสายแอลฟายีน คุณจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาสั้น ๆ ภายหลังจากเกิดออกมา เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ต



เราสามารถรู้ได้ว่าตนเป็นพาหะนำโรคทารัสซีเมีย โดย

เราสามารถรู้ได้ จากการสอบถามประวัติของพ่อ แม่ และญาติพี่น้องของพ่อแม่ว่ามีใครที่มีลักษณะอา การของ ผู้เป็นโรคนี้บ้างหรือเปล่า
ตรวจสอบตัวเอง โดยใช้แบบคัดกรองธาลัสซีเมีย เพื่อทราบว่าเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะ หรือ เป็นโรคหรือไม่
โดยการตรวจเลือดของเรา เพื่อดูว่า มียีนแฝง หรือเป็นพาหะของโรค หรือเป็นโรคหรือไม่



ผู้ที่มีโอกาสเป็นหาพะนำโรค ทารัสซีเมีย ได้แก่

ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือมียีนแฝงสูง
ผู้ที่มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้งคู่สามีภรรยาเป็นพาหะหรือมียีนแฝง
ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย
ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง
จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษดูความผิดปกติของฮีโมโกลบิน



ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย (ป่วยทั้งคู่)

ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย
ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนแฝง (เป็นพาหะทั้งคู่)
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝง (เป็นพาหะ) เท่ากับ ร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกจะเป็นธาลัสซีเมีย เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นยีนแฝงเพียงคนเดียว (เป็นพาหะ 1 คน ปกติ 1 คน)
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนปกติ (เป็นโรค 1 คน ปกติ 1 คน)
ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะมียีนแฝง หรือเท่ากับเป็นพาหะร้อยละ 100
ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย และไม่มีลูกที่เป็นปกติด้วย

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนแฝง(เป็นโรค 1 คนเป็นพาหะ 1 คน)
ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย



แนวทางการรักษาโรคทารัสซีเมีย

ให้รับประทานวิตามินโฟลิควันละเม็ด
ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด
ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย
ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก
ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก

บทบาทแพทย์
แพทย์จะดูแลใกล้ชิด ถ้าซีดจะมีการให้เลือด 2 แบบ
ให้แบบประคับประคอง (Low Transfusion) เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบินไว้ในระดับหนึ่งไม่ให้เด็ก อ่อนเพลียจากการขาดออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เติบโต

การให้เลือดจนหายซีด (High Transfusion)ระดับฮีโมโกลบินสูงใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งอาจต้องให้ เลือด ทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับฮีโมโกลบินอยู่ในเกณฑ์ดี และต่อไปจะให้สม่ำเสมอทุก 2-3 สัปดาห์ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ถ้าให้ตั้งแต่อายุน้อยในเด็กที่เป็นชนิดรุนแรง จะป้องกันการเปลี่ยนแปลง ของใบหน้าเด็ก เขาจะเติบโตมีรูปร่างแข็งแรงดี หน้าตาดี ตัวไม่เตี้ย ตับและม้ามไม่โต แพทย์จะพิจารณา เป็นราย ๆ โดยระมัดระวังผลแทรกซ้อนจากการให้เลือดบ่อยและจะต้องให้ยาขับเหล็ก ซึ่งอาจสะสมได้ จากการให้เลือดบ่อยครั้งนอกจากการให้เลือดดังกล่าว บางรายที่มีอาการม้ามโตมากจนต้องให้เลือดถี่ ๆ จากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในม้ามมากต้องตัดม้ามออกแต่จะมีการป้องกันการติดเชื้อที่อาจมีตามมาด้วย

ปลูกถ่ายไขกระดูก
สมัยนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ให้ความหวังกับโรคนี้มากขึ้น โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด ซึ่งนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งทำสำเร็จในประ เทศไทยแล้วหลายราย เด็ก ๆ ก็เจริญเติบโตปกติเหมือนเด็กธรรมดา โดยหลักการคือ นำไขกระดูกมาจาก พี่น้องในพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศก็ใช้ได้) นำมาตรวจความเหมาะสมทางการแพทย์หลายประการ และดำเนิน การสำเร็จช่วยเหลือไปหลายครอบครัวแล้ว ึงนับว่าการแพทย์ไทยมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมต่างประเทศ

การเปลี่ยนยีน
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดคือการเปลี่ยนยีน ซึ่งกำลังดำเนินการวิจัยอยู่ว่าในอนาคตอัน ใกล้้เราจะใช้วิธีนี้รักษาโรคพันธุกรรมได้หลายโรค รวมทั้งธาลัสซีเมียด้วย นับเป็นความหวังใหม่ของโรคนี้ ตัวอย่างการรักษาผู้ป่วยแนวใหม่รายงานเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 โรงพยาบาลศิริราช ทำการปลูกถ่าย ไขกระดูกรักษาโรคนี้ในเด็กรวม 38 ราย หายจากโรค 31 ราย กลับเป็น 4 ราย และเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ 3 ราย ส่วนการรักษาโดยใช้เลือดสายสะดือจากน้องมาช่วยพี่ ทำไป 11 ราย ได้ผลดีจนผู้ป่วยหายจากโรค 6 ราย กลับมาเป็น 3 ราย และถึงแก่กรรม 2 ราย ซึ่งค่าใช้จ่ายการปลูกถ่ายไขกระดูกและการปลูกถ่ายเลือด สายสะดือใกล้เคียงกันคือ2,000-4,000 บาทต่อราย



คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม จึงเป็นโรค ที่ยังรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ไม่ควรตื่นตกใจหรือวิตกกังวล เพราะบางรายอาจมีอาการไม่รุนแรงมีชีวิต ยืนยาวได้อย่างคนปกติ
ปฏิบัติตัวให้มีสุขลักษณะที่ดี ทำตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล ดูแลความสะอาดของร่างกาย ดูแลสุขภาพฟัน พักผ่อนเพียงพอ
ออกกำลังกายพอควร อย่าหักโหม เนื่องจากอาจมีกระดูกหักง่ายเพราะบางอยู่แล้ว
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นไปทางผักสด ไข่ นม หรือนมถั่วเหลืองมากๆ และอาหารที่มี โฟเลต (Folate) ช่วยสร้างเม็ดเลือด
อย่ากินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เลือดหมู เลือดเป็ด เลือดไก่ หรือตับ เพราะจะทำให้ธาตุเหล็ก สะสมมากไป
ดื่มน้ำชาหลังอาหาร เพื่อลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
ควรตรวจฟันทุก 6 เดือน เพราะว่าฟันผุง่าย
ไม่ควรซื้อยาบำรุงที่มีธาตุเหล็กมากิน จะทำให้มีธาตุเหล็กมากเกินไป เพราะตัวเองมีเม็ดเลือดแดงที่อายุสั้น เวลาสบายตัวก็มีเหล็กคั่งค้าง
ควรงดสูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา
หากมีอาการปวดท้องที่ชายโครงขวารุนแรง มีไข้ และตาเหลืองตัวเหลืองขึ้นแสดงว่าจะมีถุงน้ำดี อักเสบ ควรไปพบแพทย์ อาจเป็นโรคติดเชื้อรุนแรงได้ง่าย เมื่อมีไข้สูงควรเช็ดตัว กินยาลดไข้ ผู้ที่ตัดม้าม แล้วเมื่อมีไข้สูง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน

คำแนะนำสำหรับผู้เป็นพาหะหรือยีนแฝง
ผู้เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนก่อโรคธาลัสซีเมียไปสู่ลูกได้ จึงควรวางแผนก่อนมีลูก เพื่อหลีกเลี่ยง การมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ควรพาคู่สมรสไปตรวจเลือดก่อนมีลูก ถ้าคู่สามีภรรยาเป็นพาหะ ทั้งสองคน
เมื่อตรวจเลือดพบว่า ตัวเราเป็นพาหะของโรค ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าเราเป็นพาหะ ของโรค แต่ มิได้เป็นโรคธาลัสซีเมีย ไม่ได้เป็นโรคติดต่อเหมือนโรคอื่นๆ
เมื่อตั้งครรภ์ควรไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจต้องตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอดว่าบุตรในครรภ์เป็นโรค ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ ผู้เป็นพาหะควรแนะนำให้ญาติพี่น้องไปตรวจเลือดด้วย

คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
ผู้ที่มียีนแฝงของโรคธาลัสซีเมียจะมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเหมือนคนปกติทั่วไป อย่ารังเกียจผู้ที่เป็น โรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เนื่องจากเลือดจางแล้ว ผู้ป่วยจะมีความ เฉลียวฉลาดสติปัญญาดีเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป